วินัย

  วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม  เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลายการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข  การงานที่ทำก็จะเสียผลดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลงทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันยู่ออย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบ เสมือนวินัย
     วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคน  ให้คนเราใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร  คือทำคนให้เป็นคน “ฉลาดใช้”นั่นเอง

ชนิดของวินัย
    คนเรามีส่วนประกอบสำคัญอยู่ ๒ อย่าง  คือร่างกายกับจิตใจร่างกาย  ของเราขึ้นอยู่กับระบบโลก   ต้องพึ่งโลก ร่างกายจึงจะเจริญจิตใจ   ของเราขึ้นอยู่กับระบบธรรม   ต้องพึ่งธรรม จิตใจจึงจะเจริญเพื่อให้ชีวิตและจิตใจเจริญทั้ง ๒ ทาง  เราจึงต้องดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกันทั้ง ๒ ด้านด้วยผู้ที่ฉลาดรู้ ก็ต้องศึกษาให้รู้ ทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ที่ฉลาดทำ  ก็ต้องทำให้เป็นให้ถูกต้อง ทั้งทางโลกและทางธรรมเช่นกัน ผู้ที่ฉลาดใช้ ก็ต้องมีวินัยทางโลกและวินัยทางธรรมคอยช่วยกำกับความรู้และความสามารถเอาไว้

วินัยทางโลก
    วินัยทางโลก  หมายถึง  ระเบียบสำหรับควบคุมคนในสังคมแต่ละแห่ง  เป็นข้อตกลงของคนในสังคมนั้นที่จะให้ทำ หรือไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งบางครั้งเราเรียกชื่อแยกแยะออกไปหลายอย่าง เช่นกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ข้อบังคับ ระเบียบ ธรรมเนียม ประเพณี คำสั่ง ประกาศ กติกา ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้รวมเรียกว่าวินัยทางโลกทั้งสิ้น

วินัยทางธรรม
    เนื่องจากเราชาวพุทธมีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังนั้นวินัยทางพระ-พุทธศาสนาจึงมี ๒ ประเภท คือ
๑.อนาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ออกบวช ได้แก่ วินัยของพระภิกษุ สามเณร
๒. อาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่ วินัยของชาวพุทธชายหญิงทั่วๆไป

อนาคาริยวินัย
  จุดมุ่งหมายสูงสุดของนักบวช คือความหมดกิเลส ผู้จะหมดกิเลสได้  ต้องมีปัญญาอย่างยิ่ง ผู้จะมีปัญญาอย่างยิ่งได้จะต้องมีสมาธิอย่างยิ่ง ผู้จะมีสมาธิอย่างยิ่งได้  จะต้องตั้งอยู่บนฐานของศีลอย่างยิ่ง  คืออนาคาริยวินัย ๔ ประการ  อันเป็นพื้นฐานของความบริสุทธิ์ ได้แก่
 ๑.ปาฏิโมกขสังวร  คือการสำรวมอยู่ในศีล ๒๒๗ ข้อ  ที่พระสัมมา-สัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เว้นข้อที่พระองค์ทรงห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงให้ปฏิบัติ
 ๒.อินทรียสังวร คือการรู้จักสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เพลิดเพลินไปกับอารมณ์อันน่าใคร่ อันเกิดจากการเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และการรับรู้อารมณ์ทางใจ อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดู อะไรที่ไม่ควรฟังก็อย่าไปฟัง อะไรที่ไม่ควรดมก็อย่าไปดม อะไรที่ไม่ควรลิ้มชิมรสก็อย่าไปชิม อะไรที่ไม่ควรถูกต้องสัมผัสก็อย่าไปสัมผัส และอะไรที่ไม่ควรคิดก็อย่าไปคิด
 ๓.อาชีวปาริสุทธิ คือการหาเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ได้แก่ การ บิณฑบาต  สำหรับการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด เช่น การหาลาภสักการะด้วยการ ใบ้หวย การเป็นหมอดู การเป็นพ่อสื่อแม่ชัก การประจบชาวบ้าน จัดเป็นการกระทำที่ผิดพระวินัย
 ๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ  คือการพิจารณาก่อนที่จะบริโภคหรือใช้             ปัจจัย ๔ ว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่ได้ เหมือนน้ำมันหยอด    เพลารถให้รถแล่นไปได้เท่านั้น
พิจารณาดังนี้แล้วย่อมบรรเทาความหลง ความมัวเมาในอาหาร เครื่อง นุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคได้  ทำให้กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน

 เมื่อแรกเริ่มพระพุทธศาสนายังไม่มีการบัญญัติวินัย เพราะพระภิกษุยังมีจำนวนน้อย และทุกรูปต่างก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ทราบดีว่าอะไรเป็นสิ่งควรทำหรือไม่ควรทำ ต่อมาพระภิกษุมีจำนวนมากขึ้น และมีผู้ประพฤติไม่ค่อยดีหลงเข้ามาบวชด้วย ไปทำสิ่งที่ไม่สมควรขึ้น พระสัมมาสัม-พุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติวินัยขึ้นทีละข้อ  วินัยทุกข้อในพระพุทธศาสนาจึงมีที่มา ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น วินัยข้อแรกในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเพราะมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อสุทิน ได้ย้อนกลับไปร่วมหลับนอนกับภรรยา เพราะบิดามารดา    ขอร้องเพื่อให้มีทายาทไว้สืบสกุล  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติวินัยข้อ    ที่ ๑ ขึ้นว่า “ห้ามเสพเมถุน” เป็นต้น

วัตถุประสงค์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงบัญญัติวินัย
๑.         เพื่อรองรับความตั้งอยู่ดีของหมู่สงฆ์
๒.        เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๓.        เพื่อความสุขสำราญแห่งหมู่สงฆ์
๔.        เพื่อความสุขสำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕.        เพื่อป้องกันอาสวกิเลสอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖.         เพื่อป้องกันอาสวกิเลสอันจะบังเกิดในอนาคต
๗.        เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘.        เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
๙.         เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐.       เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญวัฒนาสถาพรสืบต่อไป

อาคาริยวินัย
วินัยสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนที่สำคัญคือ ศีล ๕
ที่มา http://www2.kalyanamitra.org/th/mngkhlchiwit38_detail.php?page=98
หนังสือมงคลชีวิต 38 ประการ ฉบับทางก้าวหน้า โดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น